จากตอนที่แล้วที่ผมได้พูดถึงบัตรเครดิตที่มีโปรแกรมทางลัดสู่บัตรทองการบินไทย หรือ Fast Track ROP ของปี 2020 จะมีอยู่ 3 ประเภทบัตรที่สามารถเข้าร่วมโปรแกรมได้ โดยมีข้อมูลสรุปดังนี้
- Citi Royal Orchid Plus Preferred
- Citibank หน้าบัตรอื่นๆ (เช่น Prestige, Premier, Mercedes Benz)
- THAI American Express Platinum
เที่ยวบินสะสมไมล์ได้ 100% ทั่วๆไป
จากตัวอย่างสามเส้นทางทางด้านบนถ้าจะทำ Fast Track จากบัตร
- Citi Royal Orchid Plus Preferred จะต้องบิน 22,000 ไมล์ ซึ่งประมาณ "ไปกลับลอนดอน 2 รอบ" หรือ "ไปกลับญี่ปุ่น 4 รอบ" ภายในระยะเวลา 1 ปี ซึ่งโดยรวมจะต้องใช้เงินซื้อตั๋วเครื่องบินประมาณ 80,000 บาทขึ้นไป
- Citibank หน้าบัตรอื่นๆ จะต้องบิน 28,000 ไมล์ ซึ่งประมาณ "ไปกลับลอนดอน 2 รอบ, ญี่ปุ่น 1 รอบ" หรือ "ไปกลับญี่ปุ่น 5 รอบ" ภายในระยะเวลา 1 ปี ซึ่งโดยรวมจะต้องใช้เงินซื้อตั๋วเครื่องบินประมาณ 100,000 บาทขึ้นไป
- THAI American Express Platinum สำหรับบัตรนี้จะต้องบินเฉพาะชั้นธุรกิจหรือชั้นหนึ่งเท่านั้น ถ้าจะต้องบิน 25,000 ไมล์ จะประมาณ "ไปกลับลอนดอน 1 รอบ และ ออสเตรเลีย 1 รอบ" ภายในระยะเวลา 1 ปี ซึ่งโดยรวมจะต้องใช้เงินซื้อตั๋วเครื่องบินประมาณ 220,000 บาทขึ้นไป
จากเส้นทางบินที่ผมตัวอย่างให้ทางด้านบนจะเห็นได้ว่าถึงแม้เราได้ทางลัดในการทำบัตรทองจากบัตรเครดิตมาแล้ว แต่ก็ยังต้องใช้เงินที่สูงในการบินให้ได้ไมล์มา (เนื่องจากตั๋วโปรที่ราคาถูกๆ จะไม่ได้รับไมล์เอกสิทธิ์ หรือ ไมล์สถานะ)
1) Citi Royal Orchid Plus Preferred
สำหรับบัตรซิตี้ รอยัลออร์คิดพลัสพรีเฟอร์ สามารถเลือกเก็บ 22,000 ไมล์หรือ 15 เที่ยวบิน โดยถ้าเราเลือกตั๋วที่ออกเดินทางจากประเทศโซน South East Asia เช่น กัวลาลัมเปอร์ จะทำให้ประหยัดค่าตั๋วไป 25-30% และได้ไมล์เดินทางที่เพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย (1,600 ไมล์)
ตัวอย่าง(A1)ตั๋วไปกลับโตเกียว 19,095 บาทได้รับไมล์ประมาณ 7,294 ไมล์ |
ตัวอย่าง(A2)ตั๋วไปกลับออสโล 29,800 บาทได้รับไมล์ประมาณ 12,294 ไมล์ |
ตัวอย่าง(A3)ตั๋วไปกลับโฮจิมินห์ 8,455 บาทได้รับเก็บ 4 เที่ยวบิน |
- จากตัวอย่างด้านบน ตั๋ว A1, A2, A3 เดินทางออกจากกัวลาลัมเปอร์ ถ้าอยากได้ผ่าน Fast Track แบบใช้งบถูกที่สุด จะต้องใช้ตั๋ว (A3) คือ เริ่มต้นจากเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ไปประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เช่นเดียวกันโดยผ่านประเทศไทย ซึ่งจะราคาใบละไม่เกิน 9,000 บาท อย่างตัวอย่างจะเดินทางไปโฮจิมินห์ ถ้าไม่คิดจะเที่ยวอะไรจริงๆ ไปกลับทีเดียวเลย 3 รอบก็จะได้ 16 เที่ยวบิน ซึ่งจะทิ้งขาสุดท้ายก็ได้เพราะเราจะใช้แค่ 15 เที่ยวบิน โดยรวมจะใช้งบประมาณ 25,365 บาทเท่านั้น ซึ่งถือว่าถูกมากครับ
ข้อดี: ใช้ทุนถูกมาก เพียง 25,365 บาท, สามารถใช้สิทธิประโยชน์ของบัตรเช่น เลานจ์สายการบิน, Meet & Assist (เช็คอินเลนพิเศษ) ในช่วงที่ยังไม่เป็นบัตรทองได้เลย
ข้อเสีย: บินหลายรอบ, และต้องซื้อตั๋วเพิ่ม 1 ใบเพื่อที่จะไปขึ้นที่กัวลาลัมเปอร์, ต้องเดินทางตามลำดับ
2) Citibank หน้าบัตรอื่นๆ
สำหรับบัตรซิตี้แบงก์อื่นๆ สามารถเลือกเก็บ 28,000 ไมล์ โดยถ้าเราเลือกตั๋วที่ออกเดินทางจากประเทศโซน South East Asia เช่น กัวลาลัมเปอร์ จะทำให้ประหยัดค่าตั๋วไป 25-30% และได้ไมล์เดินทางที่เพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย (1,600 ไมล์)
ตัวอย่าง(B1)ตั๋วไปกลับมิลาน 24,620 บาทได้รับไมล์ประมาณ 9,604 ไมล์ |
- จากตัวอย่างด้านบน ตั๋ว (B1) เดินทางออกจากกัวลาลัมเปอร์ไปกลับมิลาน (หรือประเทศอื่นๆโซนยุโรป) ตั๋วคลาส K จะมีราคาประมาณ 24,620 บาท ได้รับไมล์ 9,604 ไมล์ ซึ่งจะต้องบิน 3 รอบถึงได้ครบ 28,000 ไมล์ ใช้ทุนประมาณ 73,830 บาท (หรือจะลองผสมตั๋วเดินทาง A1,A2,B1 เองจากด้านบนให้ได้ถึง 28,000 ไมล์ได้ครับ)
ข้อดี: ใช้ทุนประมาณ 73,830 บาท (ถ้าขึ้นจากกรุงเทพเลย 100,000+ บาท)
ข้อเสีย: บินหลายรอบ, และต้องซื้อตั๋วเพิ่มเพื่อที่จะไปขึ้นที่กัวลาลัมเปอร์, ต้องเดินทางตามลำดับ
3) THAI American Express Platinum
สำหรับบัตร AMEX หน้าบัตรการบินไทย Platinum สามารถเลือกเก็บ 25,000 ไมล์ หรือ 20 เที่ยวบิน โดยต้องเป็นตั๋วชั้นธุรกิจขึ้นไป (Business Class, First Class) และเช่นกันถ้าหาตั๋วที่ออกเดินทางจากกัวลาลัมเปอร์ จะทำให้ประหยัดค่าตั๋วไปได้ และได้ไมล์เดินทางที่เพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย (1,800 ไมล์) ตัวอย่างดังนี้
ตัวอย่าง(C1)ตั๋วไปกลับมิลาน 82,825 บาทได้รับไมล์ประมาณ 16,004 ไมล์ |
ตัวอย่าง(C2)ตั๋วไปกลับเพิร์ธ 74,660 บาทได้รับไมล์ประมาณ 10,172 ไมล์ |
ตัวอย่าง(C3)ตั๋วไปกลับโฮจิมินห์ 16,290 บาทได้รับสะสม 4 เที่ยวบิน |
- จากตัวอย่างด้านบน ถ้าต้องการเก็บแบบไมล์เอกสิทธิ์ อาจจะเป็นตั๋ว (C1&C2) จากกัวลาลัมเปอร์ไปยุโรปหนึ่งรอบและไปกลับออสเตรเลียหนึ่งรอบ จะได้ไมล์ถึงเกณฑ์ 25,000 ไมล์ แต่ตั๋วในชั้นธุรกิจก็ยังถือว่ามีมูลค่าที่สูงอยู่ รวมแล้วต้องใช้เงินไปประมาณ 157,000+ บาท แต่ถ้าต้องการเก็บแบบเที่ยวบินจะแนะนำให้บินแบบ (ตั๋ว C3) ซึ่งเป็นตั๋วไปกลับโซน South East Asia ในชั้นธุรกิจโดนแวะที่กรุงเทพ เราจะได้เก็บเที่ยวบินได้มากขึ้น โดยจะต้องบิน 5 ชุดตั๋วครับ ใช้ทุนประมาณ 81,000+ บาท
ข้อดี: ใช้ทุนประมาณ 73,830 บาท (ถ้าขึ้นจากกรุงเทพเลย 100,000+ บาท)
ข้อเสีย: บินหลายรอบ, และต้องซื้อตั๋วเพิ่มเพื่อที่จะไปขึ้นที่กัวลาลัมเปอร์, ต้องเดินทางตามลำดับ
บทสรุป
การวางแผนที่ดีเป็นสิ่งคำคัญ และก็ต้องดูความคุ้มในการใช้บัตรทองด้วย ถ้าคนที่บินในชั้นธุรกิจหรือชั้นหนึ่งอยู่แล้วบัตรที่เหมาะสมคือ Amex เลย, สำหรับคนที่มีบินกับการบินไทยชั้นประหยัดบ่อยๆ บัตรซิตี้แบงค์ ROP Preferred ก็ดีไม่น้อยเลยเพียงใช้ Limosine, บริการ Meet and Assist แค่นี้ก็คุ้มค่าถือบัตร และการได้บัตรทองการบินไทยมาถือเป็นระยะเวลา 2 ปี ใช้สิทธิพิเศษเช่น อัพเกรดตั๋วบิน 1 ครั้งตลอดอายุ 2 ปี, หรือสิทธิการแลกไมล์ 50% ปีละ 1 ครั้ง (รวมเป็น 3 ครั้ง ต่อรอบ 2 ปีสมาชิกบัตรทอง - แบบค่อม 3 ปีปฏิทิน) และถ้าเป็นคนที่ใช้บัตรเครดิตเยอะๆอยู่แล้วเก็บคะแนนด้วยใช้แลกตั๋วรางวัลด้วยยิ่งคุ้มค่าครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น